กระดูกคอเสื่อมเนื่องจากหมอนรองกระดูกคอที่เสื่อม (Degenerative disc) หรือข้อต่อทางด้านหลัง (Facet Joint) จากอายุที่เพิ่มขึ้น และการใช้งานที่ไม่เหมาะสมนั่งก้มหน้า หลังค่อม คอยื่นมากเกินไป เมื่อหมอนรองกระดูกคอเสื่อมจะทำให้ช่องว่างระหว่างกระดูกต้นคอแคบลง ร่างกายจะตอบสนองต่อการเสื่อมนี้โดยการสร้างหินปูน (Osteophyte) และเส้นเอ็น ligamentum flavum ขาดความยืดหยุ่นทำให้เส้นเอ็นหนาตัวขึ้น เอ็นที่หนาตัวและหินปูนหากมีขนาดใหญ่เกินจะกดเบียดไขสันหลังและเส้นประสาทส่งผลให้มีอาการปวดคอ ชา และอ่อนแรงได้
หากหินปูนหนาตัวขึ้นไปกดทับรากประสาท (Cervical Spondylosis Radiculopathy : CSR) จะมีอาการปวดตามแนวเส้นประสาทระดับนั้นๆ มีชาหรืออ่อนแรงกล้ามเนื้อต้นแขน แขนหรือมือได้ อาจมีปวดร้าวจากคอลงไปที่แขนได้ แต่ถ้ากระดูกคอเสื่อมกดทับไขสันหลัง (Cervical Spondylosis Myelopathy : CSM) ผู้ป่วยจะมีอาการปวดคอ เดินลำบาก เกร็งบริเวณตัวและแขนขา ก้าวสั้นๆ ทรงตัวไม่ดี มือใช้งานได้ไม่ถนัด หากเป็นมากขึ้นอาจมีผลต่อการกลั้นปัสสาวะและการขับถ่ายได้
ดังนั้นหากมีอาการเหล่านี้ควรได้รับการตรวจวินิจฉัย เพื่อจะได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม โดยการรักษาสามารถรักษาโดยการทำกายภาพบำบัด
การรักษาทางกายภาพบำบัด
ท่าออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความมั่นคงและแข็งแรงของกล้ามเนื้อคอ
ทำค้างไว้ 10 วินาที 10 ครั้ง
ยืดกล้ามเนื้อด้วยตัวเองระหว่างวัน แต่ละท่าค้างไว้ 15 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง
ปรับโต๊ะทำงานและท่าทางการทำงานตามหลักการยศาสตร์
การนั่งที่ถูกต้อง เช่น คอตั้ง หลังตรง แขนและข้อมือวางระนาบเดียวกับแป้นพิมพ์ ตำแหน่งของเท้าที่ไม่ควรลอยจากพื้น เก้าอี้ควรมีพนักพิงศีรษะ พิงหลัง หรือมีที่วางแขน จอคอมพิวเตอร์อยู่ในระดับสายตา ไม่ก้มหรือเงยหน้าเยอะเกินไป