เป็นเครื่องมือที่ให้กระแสไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าสองขั้วที่วางบนผิวหนังเพื่อกระตุ้นเส้นประสาท มักจะใช้เพื่อระงับอาการปวด โดยกลไกที่เชื่อว่าทำให้สามารถลดอาการปวดได้มีอยู่ 2 กลไก ขึ้นอยู่กับชนิดของ TENS คือ
1. Conventional หรือ High – frequency / low – intensity TENS (60-100 Hz) อธิบายกลไกการระงับปวดด้วย gate control theory ซึ่งอธิบายโดย Melzack และ Wall ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 โดย กระแสไฟจากเครื่อง TENS จะไปกระตุ้นเส้นประสาทขนาดใหญ่ที่ไม่ได้นำความรู้สึกเจ็บปวด (faster-conducting, myelinated fibers) และทำให้มีการยับยั้งการนำกระแสประสาทของเส้นประสาทขนาดเล็ก ที่นำความรู้สึกเจ็บปวด (smaller A-delta and small, unmyelinated C-fibers)
2. Acupuncture – like หรือ low – frequency / high – intensity TENS (< 10Hz) อธิบายกลไกการระงับปวดโดย endogenous endorphins ซึ่งพบว่าสามารถทำให้มีสารเอนโดรฟินหลั่งออกมาในระบบประสาทส่วนกลาง(CNS) เพิ่มมากขึ้นหลังจากกระตุ้นด้วย TENS แต่เนื่องจากวิธีการนี้ผู้ถูกกระตุ้นจะรู้สึกเจ็บกว่าการกระตุ้นด้วยวิธีการแรกจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมใช้
ข้อบ่งใช้ของ TENS คือ
- ใช้เพื่อระงับปวดได้ทั้งอาการปวดเฉียบพลันและเรื้อรัง เช่น acute post-traumatic pain , postsurgical pain , reflex sympathetic dystrophy , chronic low back pain , phantom limb pain เป็นต้น
ข้อห้ามใช้ของ TENS คือ
- ผู้ป่วยที่มี cardiac pacemaker และหลีกเลี่ยงการใช้ในบริเวณ anterolateral ของคอ
ผลข้างเคียง
- อาจพบอาการระคายเคืองของผิวหนังหรือแผลไหม้พุพองของผิวหนัง
Reference : ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย