Therapeutic exercise

                  Therapeutic exercise หรือ การออกกำลังกายเพื่อการบำบัดรักษา เป็นการวางแผนอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหวร่างกาย มีกิจกรรมการออกกำลังกายต่างๆ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. ป้องกันหรือลดการเกิดความบกพร่องของโครงสร้างร่างกาย (impairment) 

2. เพิ่มประสิทธิภาพการทางานของร่างกาย

3. ป้องกันและลดปัจจัยเสี่ยงของการเกิดโรคต่างๆ

4. เพิ่มประสิทธิภาพของสุขภาวะ ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

 
ขั้นตอนการสั่งการรักษาด้วยการออกกำลังกาย มีดังนี้

1. ประเมินความเสี่ยงและข้อห้ามของการออกกาลังกาย เช่น unstable angina, ความดันโลหิตสูง ที่ยังไม่ได้รับการรักษา มี systolic blood pressure มากกว่า 200 mmHg หรือ diastolic blood pressure สูงกว่า 110 mmHg, recent myocardial infarction ภายใน 2 วัน เป็นต้น

2. ประเมินปัญหาด้านสุขภาพที่สามารถให้การรักษาด้วยการออกกำลังกาย

3. สั่งการรักษาด้วยการออกกำลังกายโดยคำนึงถึงประเภท(mode),ความหนักเบา(intensity),ระยะเวลา (duration), การเพิ่มระดับการออกกาลังกาย (rate of progression), ข้อห้าม(contraindication) และข้อควรระวัง (precaution)

4. ติดตามและประเมินผลการรักษา


ตัวอย่างประเภทของการออกกำลังกาย

1. Range of motion exercise

Range of motion exercise (ROME) คือ การออกกำลังกายเพื่อคงพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อต่อซึ่ง แบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

1.1. Passive ROM เป็นการเคลื่อนไหวตามพิสัยของข้อ โดยมีแรงจากภายนอกมากระทำ ผู้ป่วยไม่ได้ออกแรงที่กล้ามเนื้อมัดนั้นด้วยตนเอง 

1.2. Active ROM เป็นการเคลื่อนไหวตามพิสัยของข้อ โดยผู้ออกแรงทำเองทั้งหมด ไม่มีแรงจากภายนอกมากระทำ

1.3. Active-Assistive exercise เป็นการเคลื่อนไหวโดยผู้ออกแรงกระทำเองก่อน หลังจากนั้นจึง มีแรงจากภายนอกมาช่วยให้ครบการพิสัยการเคลื่อนไหวของข้อนั้นๆ

2. Stretching exercise

Stretching เป็นวิธีการเพิ่มพิสัยของข้อ ความยืดหยุ่นของเนื้อเยื่อต่างๆ ซึ่งอาจเกิด การหดสั้นของกล้ามเนื้อ  ข้อติด มีอาการปวดกล้ามเนื้อไม่สมดุลหรือมีภาวะอ่อนแรงลักษณะการทรงท่า(posture)ไม่เหมาะสม 

3. Resistance exercise

Resistance exercise เป็นการออกกำลังกายที่ผู้ป่วยออกแรงต้านกับแรงภายนอก ทำให้ความทนทาน(endurance)ความแข็งแรง(strength)และมีกำลัง(power)เพิ่มขึ้นได้ Dynamic exercise 

4. Peripheral Joint Mobilization หรอื Manipulation

Mobilization และ Manipulation เป็นการบำบัดรักษาโดยผู้บำบัดขยับข้อต่อ หรือเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อด้วยมือแบบเป็นจังหวะสม่ำเสมอตามทิศทางการเคลื่อนไหวของข้อ หรือ ทิศทางเสริมอื่นๆ นอกเหนือ จากปกติ (accessory motion) ทำให้เกิดการผ่อนคลายของข้อ ลดอาการปวด และเพิ่มพิสัย การเคลื่อนไหวของข้อได้

5. Balance exercise

Balance exercise เป็นการออกกำลังกายเพื่อฝึกการทรงตัว จุดสมดุลของร่างกายมีทั้งแบบ static และ dynamic ซึ่งการทรงตัวจะดีที่สุดเมื่อ Center of Mass (COM) หรือ Center of Gravity (COG) อยู่ภายในฐานของร่างกาย (Base of support: BOS) ซึ่งการทรงตัวมีความสำคัญในการประกอบกิจวัตร ต่างๆ หากการทรงตัวไม่ดีจะทำให้เกิดอุบัติเหตุต่างๆ ได้ง่าย เช่น การล้ม เป็นต้น การออกกำลังกายเพื่อ เพิ่มความสามารถในการทรงตัวต้องอาศัยการฝึกหลายๆอย่างประกอบกันเช่นการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ การยืดกล้ามเนื้อ เป็นต้น อย่างไรก็ตามการฝึกการทรงตัวเป็นการฝึกที่ท้าทายความสามารถของผู้ป่วย สิ่งที่ตอ้งคำนึงในการฝึกคือ ความปลอดภัยของผู้ป่วย เพื่อไม่ให้ได้รับบาดเจ็บ ขณะทำการบำบัดรักษา

Reference : ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


สอบถามโปรโมชั่น จองคิวรับบริการ ปรึกษาทุกช่องทาง
นักกายภาพและคุณหมอตอบเองค่ะ
เปิดทุกวัน 10.00 - 20.00 น.   Tel : 083-9487467

สามารถคลิกที่รูปด้านล่างได้เลย

             
 
Motion care clinic  ลง BTS เพลินจิต ทางออก 2  ชั้น 1 อาคารมหาทุนพลาซ่า  

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้