ULTRASOUND THERAPY

เป็นเครื่องให้ความร้อนลึกกลุ่ม DEEP HEAT

          Ultrasound  คือเสียงที่มีความถี่สูงเกินกว่าที่หูของคนจะได้ยิน คือมีความถี่มากกว่า 20,000 เฮิร์ทซ์   

ผลที่มีต่อเนื้อเยื่อ  แบ่งออกเป็นดังนี้

          1. ความร้อน (Thermal effect ) ความร้อนทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาต่อเนื้อเยื่อต่างๆดังได้กล่าวไว้แล้วข้างต้น โดย ultrasound จะให้ความร้อนในชั้น subcutaneous tissue เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่จะทำให้ความร้อนในชั้นของกล้ามเนื้อซึ่งอยู่ลึกลงไปมีความร้อนเพิ่มขึ้นมากกว่า โดย ultrasound ที่ใช้ไฟแรง (intensity) 0.5-2.0 W/cm2 สามารถเพิ่มอุณหภูมิได้ถึง 46 OC (114.8 OF)  บริเวณ Bone-muscle interface

          2. ผลอื่นๆนอกเหนือจากความร้อน (Nonthermal effect) ซึ่งผลในกลุ่มนี้ขึ้นกับปัจจัยหลายอย่างคือ ความถี่ที่ใช้ ชนิดของเนื้อเยื่อ และวิธีการที่ใช้ เช่น

- Cavitation คือการเกิด gas bubbles ขึ้นในเนื้อเยื่อซึ่งสามารถขยายและหดได้ตามจังหวะของคลื่นเสียงที่เคลื่อนผ่าน 

- Media motion คือการเคลื่อนที่ของตัวกลางเมื่อคลื่นเสียงเคลื่อนที่ผ่านทำให้เกิดการกระจายและการสั่นขึ้นในเนื้อเยื่อทำให้ได้ micromassaging effect  

- Standing waves คือเกิดการ superimposed ของคลื่นเสียงในตำแหน่งผิวสัมผัสของเนื้อเยื่อสองชนิดที่มีความหนาแน่นแตกต่างกัน เช่น bone – soft tissue interface ทำให้เกิดความร้อนเพิ่มขึ้นสูงกว่าปกติในจุดดังกล่าว

          เราสามารถหลีกเลี่ยง nonthermal effect ที่ไม่ต้องการได้โดยเลือก ความถี่ (frequency) ความแรงไฟ ( intensity)  ชนิด (mode) และ วิธีการ (technique) ที่เหมาะสมเพื่อควบคุมไม่ให้ผลดังกล่าวมากเกินไปซึ่งจะทำให้เกิดการบาดเจ็บของเนื้อเยื่อได้

          บริเวณที่จะรักษาด้วย ultrasound จะต้องทำความสะอาดก่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการทำ ultrasound

การรักษา

ใช้เวลารักษาประมาณ 5 – 10 นาทีต่อหนึ่งตำแหน่ง ( field ) ตามปกติระหว่างรักษาคนไข้จะรู้สึกอุ่นเล็กน้อยเท่านั้น ถ้าคนไข้รู้สึกปวดระหว่างการรักษาด้วย ultrasound แสดงว่าหัวของ ultrasound เคลื่อนไหวช้าเกินไป หรือใช้ความแรงของไฟมากเกินไป

          เนื่องจากหัวของ ultrasound มีขนาดเล็ก เพราะฉะนั้นจึงนิยมใช้ในบริเวณที่ไม่กว้างมาก ถ้าเป็นบริเวณที่มีพื้นที่มาก การใช้ ultrasound จะไม่ค่อยสะดวก โรคที่ใช้ ultrasound ในการรักษา คือ ภาวะข้อยึดติด ข้อเสื่อม เช่น ข้อเข่าเสื่อม ข้อสะโพกเสื่อม เอ็นอักเสบ เช่น บริเวณไหล่ ข้อมือ ข้อศอก ไหล่ติดแข็ง (frozen shoulder) Bursitis ที่บริเวณหัวไหล่ หรือเข่า Sprain ของกล้ามเนื้อตามส่วนต่างๆของร่างกาย และ Painful neuroma หรือ phantom limbs

ข้อห้าม

นอกเหนือจากข้อควรระวังของการใช้ความร้อนโดยทั่วๆไปแล้ว ต้องหลีกเลี่ยง บริเวณสมอง ลูกตา และอวัยวะสืบพันธุ์ ผู้ที่เป็นมะเร็ง บริเวณหน้าท้องของหญิงที่มีครรภ์ เพราะอาจเกิด cavitation ในน้ำคร่ำ หรืออาจเกิดความผิดปกติของตัวอ่อนในครรภ์ได้ และมดลูกขณะมีประจำเดือน บริเวณไขสันหลัง และตำแหน่งที่ทำ laminectomy  บริเวณ epiphysis ของกระดูกที่กำลังเจริญเติบโต (skeletal immaturity)  หลังการเปลี่ยนข้อเทียมที่มี methy methacrylate และ high density polyethylene และบริเวณหัวใจที่ใส่ pacemaker


Reference : ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย


สอบถามโปรโมชั่น จองคิวรับบริการ ปรึกษาทุกช่องทาง
นักกายภาพและคุณหมอตอบเองค่ะ
เปิดทุกวัน 10.00 - 20.00 น.   Tel : 083-9487467

สามารถคลิกที่รูปด้านล่างได้เลย

             
 
Motion care clinic  ลง BTS เพลินจิต ทางออก 2  ชั้น 1 อาคารมหาทุนพลาซ่า  

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้