อุปกรณ์หรือเครื่องมือที่ให้ความเย็นเพื่อการรักษามักเป็นการให้ความเย็นในชั้นตื้นๆ ทั้งหมด
ผลทางสรีรวิทยาของความเย็น
1.ระบบหมุนเวียนโลหิต
ทำให้เส้นเลือดบริเวณที่ได้รับความเย็นหดตัว (vasoconstriction) และลดขบวนการอักเสบในช่วงเฉียบพลัน ( acute inflammation)
2.ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
ความเย็นทำให้การเหนี่ยวนำกระแสประสาทในเส้นประสาทส่วนปลายช้าลง และถ้าได้รับความเย็นอยู่นานจะทำให้การเหนี่ยวนำกระแสประสาทถูกขัดขวาง (conduction block) และทำให้เกิด axonal degeneration ได้ นอกจากนั้นความเย็นสามารถลดภาวะหดเกร็ง (spasticity) ของกล้ามเนื้อได้ เนื่องจากความเย็นทำให้ firing rates ของ muscle splindle และ golgi tendon organ ช้าลง แต่จะสามารถลดภาวะหดเกร็งได้ชั่วคราวเท่านั้น
3.ข้อต่อและเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน
ความเย็นทำให้ความฝืดในข้อเพิ่มขึ้น ยอมให้ดัดยืดได้น้อยลง และการทำงานของเอนไซม์ collagenase ลดลง
4.อื่นๆ
ความเย็นสามารถลดอาการปวดได้ ซึ่งอาจเกิดจากที่มี muscle relaxation , cutaneous counterirritation และผลที่มีต่อการเหนี่ยวนำกระแสประสาท
ข้อบ่งใช้
ความเย็นเพื่อการรักษาคือ ภาวะบาดเจ็บเฉียบพลันของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น sprains , strains , tendinitis , tenosynovitis bursitis , capsulitis ซึ่งความเย็นจะช่วยลดบวมและลดอาการอักเสบ Myofascial pain มักจะใช้ vapocoolant spray บริเวณกล้ามเนื้อที่ต้องการแล้วตามด้วยการดัดยืด
ข้อควรระวังในการใช้ความเย็น คือ Cold intolerance ซึ่งจะทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็งเพิ่มขึ้น บริเวณที่มีเส้นประสาทอยู่ตำแหน่งตื้นๆ เช่น เส้นประสาท peroneal หรือ ulnar บริเวณที่มีภาวะ Arterial insufficiency หรือบริเวณที่สูญเสียการรับความรู้สึก เป็นต้น
Reference : ตำราเวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย